เมื่อต้องขายของจริงๆ ทำธุรกิจจริงๆ จะกำไรหรือขาดทุนก็ขึ้นอยู่กับตัวเอง
ตอนเด็กๆ ปกติจะมีงานโรงเรียน ที่ตั้งเป็นโต๊ะขายของนู่นนี่นั่น ก็สนุกดี ไม่ต้องทำอะไร ขายๆ เพลินๆ หมดก็ดีใจ ไม่หมดก็ดีใจ เพราะเอาของเหลือมากิน มาแจก มาอะไรต่อได้ คนที่มาซื้อก็คนรู้จักกันในโรงเรียน รุ่นพี่ รุ่นน้อง เพื่อน ครูอาจารย์ ผู้ปกครอง แต่เมื่อเราต้องทำธุรกิจจริงๆ มีตราสินค้า มีผลิตภัณฑ์ มีต้นทุนทั้งทางการเงิน และทางสังคม ความรู้สึกมันเปลี่ยนไปมากๆ จึงอยากสรุปเป็นบทเรียนสั้นๆแต่ละข้อ เผื่อใครจะสามารถนำไปปรับใช้ได้ภาพจาก http://smbadvance.com/6-business-planning-essentials |
1. การเตรียมตัวเป็นสิ่งสำคัญ
การวางแผนในการดำเนินการทั้งการไปจัดแสดงสินค้า การขาย การบันทึกบัญชี ต้องมีแผนสำรองกรณีเกิดเหตุที่ไม่เป็นไปตามที่วางไว้ เพราะถ้าไม่งั้นแล้ว ก็จะทำให้เกิดต้นทุนที่เสียไปฟรีๆอย่าง เงิน เวลา แรงงาน ของที่สั่งมา ที่ผลิตมาล้วนมีต้นทุน ขายไม่ออก ก็มีโอกาสเสียได้ ค่าที่ตั้งสินค้า ค่าเดินทางและอื่นๆ เวลาที่เราเอาไปเพื่อขายสินค้าก็กลายเป็นเวลาที่เสียไปโดยเปล่าประโยชน์หรือบางครั้งอาจก่อให้เกิดโทษเสียด้วยซ้ำ บางครั้งเราก็ไม่ได้ไปขายคนเดียว เอาคนนั้น จ้างคนนี้ไปช่วยนอกจากจะเสียเงินแล้ว ยังเสียแรงงานที่สามารถเอาไปทำประโยชน์อย่างอื่นได้นอกจากนี้การไม่มีความพร้อมยังทำให้ภาพลักษณ์ของเราที่ไปขายดูแย่ ซึ่งจะส่งผลต่อผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เราขายอยู่ด้วย ดังนั้นกระบวนการทุกอย่างตั้งแต่เริ่มจนจบต้องมีการวางแผน จะซื้ออะไร เท่าไหร่ จะไปวางขายสินค้ายังไงบ้าง จะขายอะไร ใช้คนกี่คน ต้องเอาอุปกรณ์อะไรไปบ้าง ราคาจะขายเท่าไหร่ ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ที่กล่าวมานี้คือสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคร่าวๆเท่านั้น
ภาพจาก https://employmentagencyservices.wordpress.com/2014/10/15/info-on-employment-pass-singapore-and-other-immigration-documents/ |
2. ใช้คนให้ถูกกับงาน
แม้ว่าจำนวนคนจะมีจำกัด แต่ก็อย่าลืมว่า คุณภาพก็เป็นสิ่งสำคัญ การให้คนที่ไม่มีทักษะด้านนี้ หรือมีคุณลักษณะที่ไม่สอดรับกับหน้าที่ นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์ อาจทำให้เกิดโทษได้อีกด้วย เพราะนอกจากการทำงานในส่วนนั้นจะไม่เกิดประสิทธิภาพแล้ว ยังก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อลูกค้าหรือคนที่มาพบเห็น เช่นการให้คนที่เป็นคนเก็บตัว เข้าหาคนไม่เก่ง ไปเป็นคนแจกใบปลิวโฆษณา หรือเป็นคนขาย ก็อาจทำให้ลูกค้าไม่เกิดความสนใจในตัวสินค้า ในขณะที่สามารถให้คนคนนี้ไปทำงานอื่นแทนได้เช่นอาจจะเป็นการบันทึกบัญชี การซื้อของใช้เพิ่มเติม หรือก็คือ ทำหน้าที่เป็นฝ่ายสนับสนุนหลังร้านแทนอาจจะทำได้ดีกว่า อย่างไรก็ดี การฝึกฝนเพื่อให้เกิดทักษะหลายๆด้านก็เป็นสิ่งจำเป็น แต่ก็ขึ้นอยู่กับโอกาสที่มีการเสนอให้ รวมถึงแรงกระตุ้นภายในของแต่ละบุคคลเองเช่นกันเมื่อพูดถึงในชีวิตจริง คงมีบางครั้งที่เราจำเป็นต้องทำในสิ่งที่เราไม่ชอบ ไม่อยากทำ แต่มันก็ถือเป็นบททดสอบและเป็นบทเรียนสำหรับความอดทนของเรา และการแก้ปัญหาในเรื่องเช่นนี้ และบางครั้งก็ถือเป็นโอกาสที่เราจะได้ลองอะไรใหม่ๆ เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ที่เราไม่คุ้ยเคย ซึ่งอาจจะกลายเป็นสิ่งที่เราชอบต่อไปในอนาคตก็ได้ เพราะการพัฒนาก็เป็นกระบวนการที่สำคัญที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จในอนาคตต่อไป
ภาพจาก http://ubyssey.ca/opinion/linguistic-diversity-ubc-102/ |
3. ขอบคุณทุกครั้ง
ไม่ว่าในโอกาสใดๆก็ตาม ตอนเขาปฏิเสธเราก็ต้องขอบคุณที่เขารับฟัง ตอนเขาถามข้อมูลแม้จะไม่ซื้อก็ต้องขอบคุณ และยิ่งถ้าเป็นหลังการขายเสร็จสิ้นแล้วก็จำเป็นต้องขอบคุณเป็นอย่างมาก การขอบคุณจะสร้างความประทับใจให้กับลูกค้า เป็นการแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตน และการให้เกียรติลูกค้า ซึ่งการขอบคุณถ้าเป็นไปได้ให้ก้มหรือโน้มตัวลงพอสมควร พร้อมกับพูดด้วยน้ำเสียงที่ชัดเจนว่า "ขอบคุณครับ" จะเป็นการสร้างภาพลักษณ์ด้านการบริการที่ดีให้กับลูกค้า ซึ่งรวมไปถึงการพูดจาให้มีให้หางเสียงทุกครั้งด้วยเช่นกันปกติผมจะเป็นคนที่ไม่ค่อยพูดคำว่าขอบคุณเลยครับ อาจจะด้วยเพราะความเขินอาย แม้ว่าจริงๆแล้วมันจะไม่ใช่เรื่องที่มีผลเสียอะไรเลย แต่เวลาผมอยู่ในฐานะคนให้บริการผมมักจะพูดขอบคุณเสียงดังฟังชัด เพราะผมรู้สึกอย่างนั้นจริงๆ มันเหมือนกับเราได้รับรางวัลแล้วเรารู้สึกดีใจจึงต้องการขอบคุณ อะไรแบบนั้น
สามสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ผมได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในการจัดขายของในงานแสดงสินค้าซึ่งเป็นการทำกิจกรรมเพื่อโฆษณาสินค้าของชุมชนวิสาหกิจบ้านปากานต์ที่กลุ่มที่ผมอยู่ได้ดูแลอยู่ครับ
No comments:
Post a Comment